ฉายา อสูรยักษ์ อุมิโบสุ
- ปีศาจทะเล หัวล้าน -
( ON.YU.DO )
ค่าหัววันพีช .....ส่วนสูง 2540 Cm.
เรือ ฟลายอิ้ง ดัชแมน (Flying Dutchman)
ตำแหน่ง ลูกเรือโจรสลัดฟลายอิ้ง(Flying Pirate)
- พันธมิตรโจรสลัดเงือกรุ่นใหม่(New Fishman )
- พันธมิตรกลุ่มเงือกจินเบ(Jinbai Fishman)
ผลไม้ปีศาจ ---
อาวุธ ร่างกายที่ขยายใหญ่ได้
ลูกเรือ เพื่อน กัปตันฟาน เดอ เดคเค่น ที่ 9(Vander Decken IX)
คู่หู ปลาโคมไฟ อันโกโร่
เผ่าพันธุ์ วอตัน ลูกครึ่งเงือกกับคนยักษ์
- สายพันธ์ ปลาปักเป้าเสือ/ทากิฟุกุ (Takifugu)
เงือกยักษ์โองาโต วาดะทสึมิ (Wadatsumi) เป็นมนุษย์เงือกปลาปักเป้าเสือ - ทากิฟุกุ มีลักษณะพิเศษที่ได้มาจากสายพันธ์คือการที่เมื่อโกรธจะสมารถพองร่างกายให้มีขนาดใหญ่เหมือนบอลลูนใช้ในการข่มขู่ศัตรูให้กลัวแต่ทำอันตรายไม่ได้ วาดะทสึมิเป็นมนุษย์เงือกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมารูปร่างของเค้าใหญ่โตขนาดเทียบเท่าจ้าวแห่งท้องทะเล โดยมีลักษณะเด่นที่หัวที่กลมโต ผมเกรียนหนวดเครายาวต่อกัน ปากกว้าง ฟันห่าง และมีดวงตาที่กลมเล็ก ไม่สวมเสื้อสวมเพียงกางเกง นิสัยของเค้าดูเหมือนจะไม่ค่อยฉลาดมากนัก ทำให้ถูกหลอกและชักจูงได้ง่ายแต่ก็ใช่ว่าใครก็จะมาสั่งเค้าได้เพราะเค้ารับใช้เพียง ฟานเดอ เด็คเค่นเท่านั้น
- ชื่อวาดะทสึมิ มาจากชื่อ 1 ใน3 อสูรแห่งท้องทะเลในศาสนาชินโตของญี่ปุ่น
【】 เปิดตำนานปลาท้องทะเล ความลับปลาปักเป้า สุดยอดปลาบอลลูนดูน่ารักแต่มีพิษร้ายถึงตาย/ RUBRIPES FISH 【】
............................
เงือกปักเป้ายักษ์โองาโต วาดะทสึมิ /Wadatsumi |
จนกะทั่งกัปตัน ฟานเดอ เดคเค่น เข้าร่วมการปฏิวัติกับ โฮดี้ และเริ่มแผนการนำเรือโนอาพุ่งเข้าชนเกาะเงือกโดยต้องการอาศัยพลังจากผลปีศาจ ของ เคคเค่นเข้าช่วย ในครั้งนี้หนึ่งในแผนการที่วางไว้ วาดะทสึมิก็มีส่วนร่วมในศึกครั้งนี้ด้วยโดยต้องรับมามือกับหนึ่งในสมาชิก หมวกฟาง ขาดำซันจิ ในช่วงแรกของการต่อสู้ดูเหมือนซันจิจะเสียเปรียบกับขนาดร่างกายที่ใหญ่ โตกว่าหลายเท่า แต่ด้วยความช่วยเหลือของจินเบทำให้ผลของการต่อสู้ในครั้งนี้ กลับกลายเป็นตัวเล็กล้มยักษ์ได้
..........................
【】นอกเรื่องวันพีชความรู้รอบตัว 【】
เปิดตำนานปลาปักเป้า Fuku ฟุ-กุ สุดยอดปลาราคาแพงมีพิษร้ายถึงตาย
ปลาน่ารักแต่ร้ายเหลือ เจ้าปักเป้า/Blowfish |
ปลาปักเป้าเป็นชื่อเรียกรวมปลาใน 2 วงศ์คือ วงศ์ปลาปักเป้า (Family Tetrodontidae) และวงศ์ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Family Diodontidae) ในทะเลไทยมีปลาปักเป้าอยู่ไม่น้อยกว่า 23 ชนิด ปลาปักเป้าชนิดที่มีรายงานว่าเป็นพิษต่อผู้บริโภคและพบในน่านน้ำไทย ได้แก่ ปลาปักเป้าลาย (Spheroids scleratus (Gmelin)), ปลาปักเป้า (Tetrodon hispidus (Lac.)) และ ปลาปักเป้าดำ (Tetrodon stellatus (BI. & Schn.)) ส่วนปลาปักเป้าที่นิยมรับประทานในญี่ปุ่น เรียกว่า Fugu ซึ่งเป็นปลาในสกุล Takifigu ชนิดที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ Tiger blowfish (Takifugu rubripes) ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมทานมาก มีขายตามเมืองใหญ่ พ่อครัวปรุงปลาปักเป้าต้องผ่านการฝึกและการสอบ ต้องมีประกาศนียบัตร แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับปลาปักเป้า และวิธีชำแหละ เพื่อความปลอดภัย นิยมทานเป็น ซาซีมิกับซอสพอนซึ ,หม้อไฟปลาปักเป้า
"ฟูกุ" เป็นอาหารที่ทำจากปลาปักเป้าที่หาทานยากที่สุดในญี่ปุ่น(ไม่ใช้เพราะมันมี จำนวนน้อยแต่เป็นเพราะหาคนทำยากต่างหาก) เป็นที่นิยมมากในญี่ปุ่นแต่ก็เป็นอาหารที่อันตรายที่สุดของโลก เพราะกินแล้วอาจตายได้ ในละปีชาวญี่ปุ่นบริโภคปลาชนิดนี้ถึง 20,000 ตัน สิ่งที่อาหารชนิดนี้มีราคาแพงก็เนื่องจากกว่าจะได้เป็นพ่อครัวฟุกุ พ่อครัวจะต้องสอบใบประกาศรับรองความสามารถในการเป็นพ่อครัวฟูกุของกระทรวง สาธารณสุขในแต่ละปีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติคือต้องปรุงเองและชิมเองด้วย ถ้าผ่านจึงจะได้ใบประกาศ ซึ่งแต่ละปีมีผู้สอบผ่านเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น
ปลาปักเป้าลาย - Spheroids |
TTXs ในปลาปักเป้าเป็นพิษชนิดเดียวกันกับที่พบใน Blue-ringed octopus และ สัตว์ทะเลที่ใช้เป็นอาหารอื่นๆ เช่น หมึกสาย หอยกาบเดี่ยว และปลาชนิดอื่นๆ บางชนิด พิษชนิดนี้มีคุณสมบัติ ไม่สลายตัวด้วยความร้อนแต่ละลายในน้ำหรือแอลกอฮอล์ได้ดี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้การถ่ายโอนประจุของ Sodium channels ในเซลล์สื่อประสาทผิดปกติ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่รับประทานเข้าไปมีอาหารชา คลื่นไส้ อาเจียน มีผลทำให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน เกิดอาการอัมพาต ในกรณีที่ได้รับพิษจำนวนมากจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลางไม่สามารถควบคุมการ หายใจและการเต้นของหัวใจ หายใจไม่ออก หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ สารพิษชนิดนี้เป็นโปรตีนที่ทนความร้อนสูงถึง 200 องศาเซลเซียสจึงไม่สลายด้วยวิธีการทำอาหารตามปกติ ในสภาพ pH เป็นกรด พิษจะอยู่ได้นานแต่จะสลายตัวได้เร็วใน pH ที่เป็นด่าง
ความรุนแรงของพิษขึ้นกับสัตว์ทะเลแต่ละชนิด แต่ละตัว และชนิดของเนื้อเยื่อ ในตับและรังไข่มักมีความรุนแรงของพิษสูง แต่พบว่ามีสัตว์เฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่สามารถสะสมสารพิษ TTXs ไว้ในตัวได้ จากผลการศึกษาวิจัย นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ตามทฤษฎีแล้วเนื้อของปลาปักเป้าไม่มีพิษ หรือมีพิษน้อย เนื่องจากปลาไม่สามารถผลิตพิษได้เอง ปลาจะเริ่มสะสมพิษซึ่งถูกสร้างขึ้นจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์น้ำ และที่อยู่เป็นอิสระ เช่น Vibrio alginolyticus และ Pseudoalteromonas tetraodonis จึง มีรายงานว่าปลาบางชนิดมีพิษ บางชนิดไม่มีพิษ แต่ในบางทฤษฎีเชื่อว่าตอนที่ปลามีไข่อ่อนอาจจะผลิตพิษได้บ้าง โดยพิษจะสะสมอยู่ในอวัยวะภายใน พบมากที่ ตับ กระเพาะ ลำไส้ รังไข่ ลูกอัณฑะ และผิวหนัง พิษของปลาจะเพิ่มมากขึ้นในฤดูวางไข่
..........................