( KING DALTON )
- ผู้พิทักษ์แห่งอาณาจักรดรัม
สังกัด ภายใต้การดูแลของสหพันรัฐบาลโลก(World Goverment)
- เผ่ามังกรฟ้า(World Nobles)
- เผ่ามังกรฟ้า(World Nobles)
อายุ 37 ปี
- เกิด เกาะดรัม/แกรนต์ไล
- เกิด เกาะดรัม/แกรนต์ไล
ส่วนสูง 197 cm
ตำแหน่ง ราชาเกาะซากุระใหม่ (King of Sakura )
- ราชองครักษ์อาณาจักรดรัม(Drum Kingdom
อาวุธ ดาบสปาดี้ (Spade-Fiddle Banff)
- ราชองครักษ์อาณาจักรดรัม(Drum Kingdom
อาวุธ ดาบสปาดี้ (Spade-Fiddle Banff)
ผลปีศาจ อุชิ อุชิ โมเดลไบซัน (Ushi Ushi MODEL Bison)สายโซออน/สัตว์โบราณยุคน้ำแข็ง
ผลกระทิงสายพันธ์ไบซัน : เน้นด้านพละกำลังและความเร็ว ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ แปลงร่างในแบบกึ่งไบซัน แข็งแรงและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
เผ่าพันธุ์ มนุษย์
เผ่าพันธุ์ มนุษย์
"การเป็นกษัตริย์ที่ดีในความหมายของข้าไม่ใช่อยู่เหนือประชาชน
แต่ต้องอยู่เคียงข้างประชาชน..ทุกเมื่อเมื่อพวกเค้าต้องการ"
กล่าวโดย ราชาดอลตัน
ประวัติ.ดอลตัน (Dalton) เป็นขุนนางหนุ่มที่ดูสง่างามและองอาจมักจะยืนอกผายใหล่ผึ่งแสดงให้เห็นถึงพลังในการปกป้องคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่า เค้ามีใบหน้าที่ดูคร้ายสี่เหลี่ยมไว้เคราแพะและมีผมสีดำ มักจะสวมใส่เกราะเหล็กและพกอาวุธประจำกายติดตัวอยู่ตลอด นิสัยของเค้าซื่อสัตว์ต่อเจ้านายแม้ตัวตายโดยคำว่าทรยศ หักหลังไม่มีอยู่ในความคิดของเค้าแต่ทว่าในเนื้อเรื่องการกระทำที่โหดเหี้ยมของราชาวาโปลู เจ้านายของเค้าที่ทำให้เค้าสุดจะทนแต่ก็ต้องทนต่อคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้กับพ่อของ วาโปลูที่จะช่วยดูแลอาณาจักรต่อไปจนกระทั้งวาโปลูได้สั่งให้ทหารฆ่าดอลตัยซะและไม่ถือว่าดอลตันเป็นคนของอาณาจักรอีกต่อไป แต่โชคดีที่ดอลตันรอดมาได้และถือว่าตนได้ตายไปแล้วและเกิดใหม่เพื่อคุ้มครองประชาชนที่อ่อนแอของตน
จุดอ่อน : การเป็นคนดีของดอลตันเป็นสิ่งที่รู้โดยทั่วไปและนั้นคือจุดอ่อนที่ใช้เล่นงานเค้าได้เป็นอย่างดี
วัวไบซัน ดอลตัน - Dalton |
"ราชาที่ต้องเป็นที่ยอมรับจากรัฐบาลโลกที่ชั่วร้ายนั้น....
ข้าไม่ต้องการ..สำหรับข้าขอเพียง ประชาชนของข้ายอมรับ..
แม้สักคน.!!...ก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นราชา.."
ราชาดอลตันราชาคนใหม่แห่ง ดรัม ในอดีตเคยเป็นมือขวาของกษัตริย์วาโปรูและเป็น 1ใน3 ผู้พิทักษ์เกาะดูแลกองกำลังป้องกันอาณาจักรอีกดรัม รับใช้วาพูด้วยความซื่อสัตว์จนกระทั่ง อาณาจักรถูกโจมตีโดยกลุ่มโจรสลัดหนวดดำที่ร้ายกาจจึงทิ้งอาณาจักรและประชาชน หนีเอาตัวรอด ดอลตันจึงตั้งตนเป็นผู้พิทักษ์เกาะเพื่อคุ้มครองประชาชนหลังจากโจรสลัดหนวด ดำจากไป กษัตริย์วาพูคิดทวงอำนาจกษัตริย์คืน ดอลตันและประชาชนบนเกาะจึงรุกขึ้นต่อต้านแต่กลับถูกทำร้ายเกือบตายโชคดี กลุ่มโจรสลัดหมวกฟางเข้ามาช่วยไว้ได้ทันและจัดการวาพูจนราบคาบและขับไล่ออก จากเกาะไป
ไบซัน ดอลตัน - Dalton |
.........................................
【】 นอกเรื่องความรู้รอบตัว 【】
เปิดตำนานผู้อยู่รอดจากยุคน้ำแข็ง ควายไบซัน จักรพรรดิแห่งพงไพรในทุ่งน้ำแข็ง / BISAN
ไบซันยุโรป (Bison bonasus) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า วีเซนต์ แบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้สองชนิดคือไบซันที่ลุ่มยุโรป และไบซันแห่งเทือกเขาคอเคซัส หรือไบซันภูเขา. ไบซันแห่งเทือกเขาคอเคซัสตัวสุดท้ายตายเมื่อปี 1927. เดิมทีอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในภูมิภาคส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป. ไบซันตัวผู้ที่โตเต็มขนาดแล้วอาจมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัมและสูงได้เกือบ 2 เมตรเมื่อวัดถึงบ่าของมัน. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมร่างใหญ่เหล่านี้เคยถูกเรียกว่า จักรพรรดิแห่งพงไพร. ลักษณะที่โดดเด่นของไบซันก็คือขนาดที่ไม่ได้สัดส่วนกันของลำตัวส่วนหน้ากับส่วนหลัง. ช่วงบ่าด้านหน้าของมันที่ทั้งกว้างและหนักนั้นมีหนอกนูนขึ้นมาอย่างเด่นชัด ขณะที่ส่วนหลังของลำตัวค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกัน. ส่วนหลังนี้มีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่ ขณะที่ส่วนหน้ามีขนยาวรุงรังแถมยังมีเคราด้วย.
เกือบสูญพันธุ์ มีการกะประมาณกันว่า ในทุกวันนี้มีไบซันยุโรปเหลืออยู่เพียงไม่กี่พันตัว. การทำเกษตรกรรมและการถางป่าทำให้ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมันสูญสิ้นไป และนักลักลอบล่าสัตว์ก็เข่นฆ่าพวกมันอย่างไม่ลดละ. พอถึงศตวรรษที่แปด ไบซันยุโรปในอาณาจักรโกล (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียม) ก็สูญสิ้นไป.
ในศตวรรษที่ 16 กษัตริย์ชาวโปแลนด์ได้ดำเนินการเพื่อพิทักษ์คุ้มครองสัตว์ป่าชนิดนี้. หนึ่งในกษัตริย์องค์แรก ๆ ที่ได้ให้การช่วยเหลือก็คือกษัตริย์ซิกิสมุนด์ที่สอง เอากุสตุส ซึ่งได้ออกพระราชกฤษฎีกาว่าการฆ่าไบซันยุโรปนั้นเป็นความผิดที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิต. เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? ดร. ซบิกนีเยฟ คราซินสกี ประจำอุทยานแห่งชาติเบียวอฟเยชา กล่าวว่า “ความตั้งใจนั้นก็คือ เพื่อสงวนสัตว์เหล่านี้เอาไว้เป็นรางวัลให้พวกผู้ปกครองและเหล่าข้าราชบริพารได้ล่ากัน.” ทั้ง ๆ ที่มีบทลงโทษอย่างรุนแรง แต่กฎข้อบังคับดังกล่าวก็ไม่สามารถคุ้มครองเจ้าไบซันป่าได้ และพอถึงสิ้นศตวรรษที่ 18 ไบซันยุโรปก็มีเหลืออยู่เฉพาะที่ป่าเบียวอฟเยชาทางภาคตะวันออกของโปแลนด์ และในเทือกเขาคอเคซัสเท่านั้น.
ในศตวรรษที่ 19 สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น. หลังจากจักรวรรดิรัสเซียได้ยึดครองป่าเบียวอฟเยชา จักรพรรดิอะเล็กซานเดอร์ที่หนึ่งก็มีรับสั่งให้คุ้มครองไบซันยุโรป. ไม่นานก็เห็นผล. ประชากรไบซันเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ และพอถึงปี 1857 ไบซันยุโรปที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐบาลก็มีเกือบถึง 1,900 ตัว. ต่อมา มีการสร้างที่ให้อาหารสัตว์ขึ้นเพื่อให้ไบซันมากินอาหารได้ในช่วงฤดูหนาว. มีการวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อสร้างบ่อน้ำ และถางป่าเพื่อปลูกพืชเอาไว้เลี้ยงพวกมัน. น่าเศร้า ช่วงเวลาที่น่ายินดีสำหรับไบซันเหล่านี้เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ. ภายในเวลา 60 ปี จำนวนไบซันก็ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง.
จุดจบของไบซันป่าในโปแลนด์ เกิดขึ้นตอนที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งระเบิดขึ้น. ทั้ง ๆ ที่เยอรมนีมีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ “คุ้มครองไบซันไว้เพื่อชนรุ่นหลังฐานะเป็นอนุสรณ์ทางธรรมชาติที่ไม่มีใดเหมือน” แต่สัตว์เหล่านี้ก็ถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมาก ทั้งโดยกองทหารฝ่ายเยอรมันที่ล่าถอย, พวกนักต่อสู้ชาวรัสเซียที่สู้รบกับฝ่ายเยอรมัน, และนักลักลอบล่าสัตว์ที่มีอยู่เสมอมา. ดังที่ได้อธิบายไว้ในตอนต้นของบทความนี้
ในปี 1919 ไบซันยุโรปที่อาศัยอยู่ในป่าตัวสุดท้ายของโปแลนด์ก็ถูกฆ่าตาย. รอดจากการสูญสิ้น ด้วยความพยายามที่จะอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้เอาไว้ จึงมีการก่อตั้งสมาคมระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองไบซันยุโรปขึ้นในปี 1923. เป้าหมายแรกของสมาคมนี้ก็คือ เพื่อนับจำนวนไบซันพันธุ์แท้ที่ถูกขังไว้ตามที่ต่าง ๆ.* ปรากฏว่ามีไบซันที่ลุ่มยุโรปซึ่งเป็นพันธุ์แท้หลงเหลืออยู่ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก 54 ตัว.
อย่างไรก็ตาม ในจำนวนทั้งหมดนี้ใช่ว่าทุกตัวสมบูรณ์พอที่จะผสมพันธุ์ได้. บางตัวก็แก่เกินไป ส่วนบางตัวก็เป็นโรคร้ายแรง. ในที่สุด ไบซัน 12 ตัวก็ถูกคัดมาเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนสัตว์ป่าชนิดนี้. เป็นที่ทราบกันดีว่า ไบซันที่ลุ่มยุโรปทั้งหมดที่มีอยู่ในตอนนี้เป็นลูกหลานของไบซันเพียงห้าตัวจากจำนวนดังกล่าว..
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1929 ก็มีเหตุการณ์ที่น่ายินดีมากเกิดขึ้น เมื่อมีการปล่อยไบซันที่ลุ่มยุโรปสองตัวคืนสู่ป่า. พวกมันถูกนำไปปล่อยในเขตสงวนที่จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษในป่าเบียวอฟเยชา. หลังจากสิบปีผ่านไป พวกมันก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 16 ตัว. รอดจากการสูญพันธุ์หรือ?
ในตอนต้นศตวรรษที่ 21 มีไบซันยุโรปอยู่ประมาณ 2,900 ตัวทั่วโลก. ในจำนวนนี้มีประมาณ 700 ตัวอยู่ในโปแลนด์. ตลอดช่วงเวลาหลายปี มีการนำไบซันเหล่านี้ไปปล่อยที่เบลารุส, คีร์กิซสถาน, ลิทัวเนีย, รัสเซีย, และยูเครนด้วย. แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าไบซันยุโรปจะรอดพ้นอันตราย. พวกหมัดและเห็บ, โรคภัย, การขาดแคลนอาหารและน้ำ, และผู้ลักลอบล่าสัตว์ก็ยังเป็นภัยคุกคามอยู่ร่ำไป.
ไบซันยุโรป (Bison bonasus) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า วีเซนต์ แบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ได้สองชนิดคือไบซันที่ลุ่มยุโรป และไบซันแห่งเทือกเขาคอเคซัส หรือไบซันภูเขา. ไบซันแห่งเทือกเขาคอเคซัสตัวสุดท้ายตายเมื่อปี 1927. เดิมทีอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในภูมิภาคส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป. ไบซันตัวผู้ที่โตเต็มขนาดแล้วอาจมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัมและสูงได้เกือบ 2 เมตรเมื่อวัดถึงบ่าของมัน. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมร่างใหญ่เหล่านี้เคยถูกเรียกว่า จักรพรรดิแห่งพงไพร. ลักษณะที่โดดเด่นของไบซันก็คือขนาดที่ไม่ได้สัดส่วนกันของลำตัวส่วนหน้ากับส่วนหลัง. ช่วงบ่าด้านหน้าของมันที่ทั้งกว้างและหนักนั้นมีหนอกนูนขึ้นมาอย่างเด่นชัด ขณะที่ส่วนหลังของลำตัวค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกัน. ส่วนหลังนี้มีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่ ขณะที่ส่วนหน้ามีขนยาวรุงรังแถมยังมีเคราด้วย.
เกือบสูญพันธุ์ มีการกะประมาณกันว่า ในทุกวันนี้มีไบซันยุโรปเหลืออยู่เพียงไม่กี่พันตัว. การทำเกษตรกรรมและการถางป่าทำให้ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมันสูญสิ้นไป และนักลักลอบล่าสัตว์ก็เข่นฆ่าพวกมันอย่างไม่ลดละ. พอถึงศตวรรษที่แปด ไบซันยุโรปในอาณาจักรโกล (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียม) ก็สูญสิ้นไป.
ในศตวรรษที่ 16 กษัตริย์ชาวโปแลนด์ได้ดำเนินการเพื่อพิทักษ์คุ้มครองสัตว์ป่าชนิดนี้. หนึ่งในกษัตริย์องค์แรก ๆ ที่ได้ให้การช่วยเหลือก็คือกษัตริย์ซิกิสมุนด์ที่สอง เอากุสตุส ซึ่งได้ออกพระราชกฤษฎีกาว่าการฆ่าไบซันยุโรปนั้นเป็นความผิดที่มีโทษถึงขั้นประหารชีวิต. เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? ดร. ซบิกนีเยฟ คราซินสกี ประจำอุทยานแห่งชาติเบียวอฟเยชา กล่าวว่า “ความตั้งใจนั้นก็คือ เพื่อสงวนสัตว์เหล่านี้เอาไว้เป็นรางวัลให้พวกผู้ปกครองและเหล่าข้าราชบริพารได้ล่ากัน.” ทั้ง ๆ ที่มีบทลงโทษอย่างรุนแรง แต่กฎข้อบังคับดังกล่าวก็ไม่สามารถคุ้มครองเจ้าไบซันป่าได้ และพอถึงสิ้นศตวรรษที่ 18 ไบซันยุโรปก็มีเหลืออยู่เฉพาะที่ป่าเบียวอฟเยชาทางภาคตะวันออกของโปแลนด์ และในเทือกเขาคอเคซัสเท่านั้น.
ในศตวรรษที่ 19 สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น. หลังจากจักรวรรดิรัสเซียได้ยึดครองป่าเบียวอฟเยชา จักรพรรดิอะเล็กซานเดอร์ที่หนึ่งก็มีรับสั่งให้คุ้มครองไบซันยุโรป. ไม่นานก็เห็นผล. ประชากรไบซันเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ และพอถึงปี 1857 ไบซันยุโรปที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐบาลก็มีเกือบถึง 1,900 ตัว. ต่อมา มีการสร้างที่ให้อาหารสัตว์ขึ้นเพื่อให้ไบซันมากินอาหารได้ในช่วงฤดูหนาว. มีการวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อสร้างบ่อน้ำ และถางป่าเพื่อปลูกพืชเอาไว้เลี้ยงพวกมัน. น่าเศร้า ช่วงเวลาที่น่ายินดีสำหรับไบซันเหล่านี้เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ. ภายในเวลา 60 ปี จำนวนไบซันก็ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง.
จุดจบของไบซันป่าในโปแลนด์ เกิดขึ้นตอนที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งระเบิดขึ้น. ทั้ง ๆ ที่เยอรมนีมีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ “คุ้มครองไบซันไว้เพื่อชนรุ่นหลังฐานะเป็นอนุสรณ์ทางธรรมชาติที่ไม่มีใดเหมือน” แต่สัตว์เหล่านี้ก็ถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมาก ทั้งโดยกองทหารฝ่ายเยอรมันที่ล่าถอย, พวกนักต่อสู้ชาวรัสเซียที่สู้รบกับฝ่ายเยอรมัน, และนักลักลอบล่าสัตว์ที่มีอยู่เสมอมา. ดังที่ได้อธิบายไว้ในตอนต้นของบทความนี้
ในปี 1919 ไบซันยุโรปที่อาศัยอยู่ในป่าตัวสุดท้ายของโปแลนด์ก็ถูกฆ่าตาย. รอดจากการสูญสิ้น ด้วยความพยายามที่จะอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้เอาไว้ จึงมีการก่อตั้งสมาคมระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองไบซันยุโรปขึ้นในปี 1923. เป้าหมายแรกของสมาคมนี้ก็คือ เพื่อนับจำนวนไบซันพันธุ์แท้ที่ถูกขังไว้ตามที่ต่าง ๆ.* ปรากฏว่ามีไบซันที่ลุ่มยุโรปซึ่งเป็นพันธุ์แท้หลงเหลืออยู่ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก 54 ตัว.
อย่างไรก็ตาม ในจำนวนทั้งหมดนี้ใช่ว่าทุกตัวสมบูรณ์พอที่จะผสมพันธุ์ได้. บางตัวก็แก่เกินไป ส่วนบางตัวก็เป็นโรคร้ายแรง. ในที่สุด ไบซัน 12 ตัวก็ถูกคัดมาเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนสัตว์ป่าชนิดนี้. เป็นที่ทราบกันดีว่า ไบซันที่ลุ่มยุโรปทั้งหมดที่มีอยู่ในตอนนี้เป็นลูกหลานของไบซันเพียงห้าตัวจากจำนวนดังกล่าว..
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1929 ก็มีเหตุการณ์ที่น่ายินดีมากเกิดขึ้น เมื่อมีการปล่อยไบซันที่ลุ่มยุโรปสองตัวคืนสู่ป่า. พวกมันถูกนำไปปล่อยในเขตสงวนที่จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษในป่าเบียวอฟเยชา. หลังจากสิบปีผ่านไป พวกมันก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 16 ตัว. รอดจากการสูญพันธุ์หรือ?
ในตอนต้นศตวรรษที่ 21 มีไบซันยุโรปอยู่ประมาณ 2,900 ตัวทั่วโลก. ในจำนวนนี้มีประมาณ 700 ตัวอยู่ในโปแลนด์. ตลอดช่วงเวลาหลายปี มีการนำไบซันเหล่านี้ไปปล่อยที่เบลารุส, คีร์กิซสถาน, ลิทัวเนีย, รัสเซีย, และยูเครนด้วย. แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าไบซันยุโรปจะรอดพ้นอันตราย. พวกหมัดและเห็บ, โรคภัย, การขาดแคลนอาหารและน้ำ, และผู้ลักลอบล่าสัตว์ก็ยังเป็นภัยคุกคามอยู่ร่ำไป.
........................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น